นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ
มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ
แล้วโดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การคิดค้น (invention)
2. การพัฒนา (Development)
3. นำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า
นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ
ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรม
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา
ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ
พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ
ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง
ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้
เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded
School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching
Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า
เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ
แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน
ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก
และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning
Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น
(Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน
หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง
เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี
ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง
การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible
Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open
University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ
ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์
แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
หลักการของนวัตกรรมการศึกษา คือ
1. สิ่งใดก็ตามที่เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์หรือยอมรับเราเรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
2. สิ่งที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาเราเรียนว่านวัตกรรม
3. สิ่งที่เรานั้นยังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายเราเรียกว่านวัตกรรม
4. สิ่งใดก็ตามที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ
ในวงการใดวงการหนึ่ง
และมีการพิสูจน์ว่าจะมีประสิทธ์ภาพและประสิทธิผลจริงนับว่าเป็นนวัตกรรม
ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศ
หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก
2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี
เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทฤษฎีการเสริมแรง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ กล่าวไว้ว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้
ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ ซึ่งกล่าวไว้ว่า
สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง
จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law
of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law
of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law
of Readiness)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง
(S-R Theory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ
ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้
สรุปหลักการและทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรม
ทฤษฎี
การเผยแพร่นั้นเกิดจากการผสมผสานทฤษฎี หลักการ และความรู้ ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่
เป็นทฤษฎีที่ไม่บ่งชี้เฉพาะว่าใช้สำหรับการเผยแพร่นวัตกรรมของสาขาวิชา
หรือศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งโดยเฉพาะ
เนื่องจากการเผยแพร่นวัตกรรมนั้นมีในทุกสาขาวิชาและทุกศาสตร์
นักวิจัยที่ทำการศึกษาและสังเคราะห์ผลการวิจัยต่างๆ
แล้วนำมาสร้างเป็นทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับคือ Everett M. Rogers ในหนังสือของเขาชื่อ Diffusion
of Innovations ซึ่งถูกนำไปใช้ในงานการเผยแพร่นวัตกรรมมากที่สุด
และเป็นฐานของการพัฒนาทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมดังต่อไปนี้
1) ทฤษฎีกระบวนการตัดสินใจรับนวัตกรรม
(The Innovation Decision Process Theory)
2) ทฤษฎีความเป็นนวัตกรรมในเอกัตบุคคล
(The Individual Innovativeness Theory)
3) ทฤษฎีอัตราการยอมรับ
(The Theory of Rate of Adoption) และ
4) ทฤษฎีการยอมรับด้วยคุณสมบัติ
(The Theory of Perceived Attributes)
Rogers ได้ขยายความทฤษฎีนี้ไว้ว่า
กลุ่มผู้มีศักยภาพในการยอมรับนวัตกรรม
ตัดสินใจรับโดยใช้ฐานของการรับรู้รับทราบถึงคุณสมบัติของนวัตกรรม
ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการได้แก่
1) นวัตกรรมนั้นสามารถทดลองใช้ได้ก่อนการจะยอมรับ
(Trial Ability)
2) นวัตกรรมนั้นสามารถสังเกตผลที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
(Observability)
3) นวัตกรรมนั้นมีข้อดีกว่า
หรือเห็นประโยชน์ได้ชัดเจนกว่าสิ่งอื่นๆ มีอยู่ในขณะนั้น
หรือสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน (Relative Advantage)
4) ไม่มีความซับซ้อน
ง่ายต่อการนำไปใช้ (Complexity)
5) สอดคล้องกับการปฏิบัติและค่านิยมที่เป็นอยู่ขณะนั้น
(Compatibility) ทฤษฎีการยอมรับด้วยคุณสมบัติของนวัตกรรม
ได้นำไปใช้ในการศึกษาการเผยแพร่
และการยอมรับเอานวัตกรรมไปใช้ในแวดวงของสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาเป็นอย่าง มาก
จากการศึกษาพบว่า Compatibility, C
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น